โรคลำไส้แปรปรวน หรือ ไอบีเอส (IBS - Irritable Bowel Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดร่วมกันหลายอาการ มีสาเหตุมาจากลำไส้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เร็วกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือใต้สะดือ ร่วมกับมีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือ ท้องเสียสลับท้องผูก อาจมีมูกปนในอุจจาระ อาการปวดจะหายไปหลังจากขับถ่าย อาจมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือเรอด้วย

ส่วนใหญ่อาการปวดท้องจะเกิดขึ้นตอนเช้า หรือหลังจากกินอาหาร สำหรับคุณผู้หญิงจะมีอาการปวดท้องมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน

สาเหตุลำไส้แปรปรวน

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุก่อโรคลำไส้แปรปรวนแน่ชัด ดร.ดักลาส เอ. ดรอสแมน (Dr. DouglasA. Drossman) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านช่องท้อง กล่าวว่า “ความเครียดกับโรคลำไส้แปรปรวนมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก” อารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความโกรธความตื่นเต้น ความเครียด ความเศร้า ฯลฯ ล้วนมีผลโดยตรงต่อระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวผิดปกติ ผู้ที่เกิดความตื่นเต้น เช่น กำลังจะขึ้นเวทีต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกหรือคนที่จู่ๆ ก็มีเหตุให้เครียดจัด มักจะรู้สึกปวดท้องขึ้นมาทันที

อาการลำไส้แปรปรวนนอกจาก จะถูกกระตุ้นจากความเครียดได้ง่ายแล้ว ยังมีอาหารเป็นตัวกระตุ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมันสูง เนื้อสัตว์ อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารมาก เช่น กะหล่ำปลี นม หอมหัวใหญ่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาและฮอร์โมนบางชนิดก็เป็นตัวกระตุ้นอาการลำไส้แปรปรวนได้เช่นกัน

โปรดสังเกตว่า ทั้งกรดไหลย้อนและลำไส้แปรปรวนมีตัวกระตุ้นให้เกิดคล้ายกัน นั่นคืออาหาร ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและความเครียด

การดูแลป้องกันลำไส้แปรปรวนด้วยตัวเอง

เริ่มจากการหาสาเหตุของโรคก่อน ควรจดบันทึกพฤติกรรม หรือสถานการณ์ในวันนั้นๆ ไว้อย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุก่อโรค และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้

1. ลดการกินเนื้อสัตว์หรือไข่ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ควรกินโปรตีนจากเต้าหู้ ถั่วเหลืองและเนื้อปลาซึ่งย่อยง่าย

2. หลีกเลี่ยงการกินของทอด อาหารมันๆ หรือ ขนมเบเกอรี่ที่อุดมไปด้วย นม เนย

3. ไม่ควรกินแป้งขัดขาว ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ควรกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เส้นโฮลวีต เมล็ดถั่ว งา

4. เลี่ยงการกินอาหารรสจัด ซึ่งทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดและเปรี้ยวจำพวก เมนูยำ น้ำส้ม น้ำมะนาว

5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มจำพวกชา กาแฟ เหล้า เบียร์และน้ำเย็นจัด ควรดื่มน้ำอุณหภูมิปกติ หรือน้ำอุ่นวันละ 6-8 แก้ว

6. กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง โดยปรับจากมื้อใหญ่ 3 มื้อ เป็นมื้อย่อย 4 - 5 มื้อแทน โดยเน้นกินผัก ผลไม้ที่มีใยอาหารมาก

7. ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ลำไส้มีการขยับ หรือเคลื่อนไหว

โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน ความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างระบบขับถ่ายให้ดีได้ด้วย “การเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดี ให้กับลำไส้เป็นประจำ”

Happy Bio แฮปปี้ ไบโอที่วิจัยมาเพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหาโดยการ “สร้างสมดุลระบบขับถ่าย  ให้กลับมาทำงานเป็นปกติ” ด้วยนวัตกรรมสกัดสารจากธรรมชาติ  นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ปลอดภัย ไม่ใส่ยาระบาย ช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้แข็งแรงตามธรรมชาติ